วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการเลี้ยงเต่า


สวัสดีพี่ๆๆน้อง ชาวBlogger วันนี้จะมาแนะนำวิธีการเลี้ยงเต่าให้ถูกวิธีและขั้นตอนต่างๆ
ผมชื่อ Phatcharapon เป็นนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เรามาเริ่มกันที่การเลือกสถานที่เลี้ยงเต่านะครับควร เลือกสถานที่ๆปรอดโปร่งและมีอาการไหลเวียนได้เต็มที่และ มีแสงแดดส่องถึง ข้อสำคัญในการจัดสถานที่คือ ต้องดูปัจัยอะไรหลายๆอย่างเช่น เต่าปรับสภาพกับสถานที่ได้ไม๊และ เต่าเกิดอาการเครียดไม๊ และต่อไปเป็นการเลือกซื้ออาหารการกินของเต่าควรเลือกและดูชนิดหรือสายพันญ์ ของเต่าด้วยว่ากินอาหารสดหรือว่าอาหารเมล็ด และควรอ่านสลากข้างซองด้วยว่าเหมาะสำหรับเต่าของเราหรือป่าวและอีกประเภทหนึ่งคือเต่าที่กินอาหารที่เป็นสิ่งมีชีวิตด้วยกัน จะต้องเลือกหา ของสดที่สะอาดไม่มีสารเจือปน เพราะจะทำให้มีผลข้างเคียงกับตัวเต่าเองและจะทำให้ผู้เลี้ยงเป็นกังวลได้ และวิธีต่อไปการเปลี่ยนถ่ายน้ำควรเปลี่ยนอย่างน้อย อาทิตนึ่งเปลี่ยนทีแต่ถ้ามีเวลา ก็ 2-3 วันก็เปลี่ยนที การสังเกตอาการของเต่าที่มีอาการเปื่อยและอาการเครียด ถ้าเกิดอาการเปื่อยให้นำยาม่วงหรือยาเจนเซียนไวโอแลต นำไปทาตรงที่เกิดอาการเปื่อยแล้วรอยสัก 5นาที รอจนยาแห้งแล้วค่อยปล่อยเต่าลงน้ำ  อาการเครียดของเต่านี้เกิดได้หลายวิธีคือ เต่าปรับสภาพสถานที่ไม่ได้และเต่าไม่คุ้นเคยกับภมูิอากาศ

สายพันธ์เต่า

เต่าญี่ปุ่น



เต่าญี่ปุ่น หรือเต่าแก้มแดง  เป็นต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์,แม่น้ำมิสซิสซิปปีไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก
เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น
ลักษณะเมื่อแรกเกิดกระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ2ฟุตโดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี
เต่าแก้มแดง นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย
เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง

เต่าอัลลิเกเตอร์สแนปปิ้งเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด
จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์
เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสันสันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้
โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 ขณะที่ตัวที่มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีน้ำหนักถึง 236 ปอนด์ อยู่ที่สวนสัตว์บรู๊คฟิลด์ ในชิคาโก
เต่าอัลลิเกเตอร์ จัดเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแรงกัดของกรามที่รุนแรง โดยเต่าขนาด 1 ฟุต มีแรงกัดถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นแรงกัดมหาศาลเป็นอันดับ 3ของโลก รองจาก จระเข้น้ำเค็ม และ ไฮยีน่าแม้แต่สุนัขขนาดใหญ่ที่ดุร้าย เช่น พิทบูล ยังมีแรงกัดได้เพียง 400-500ปอนด์เท่านั้น และเมื่อกัดแล้วกรามจะล็อกเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุด จนผู้เชี่ยวชาญในการจับเต่าอัลลิเกเตอร์กล่าวว่า หากถูกเต่าอัลลิเกเตอร์กัดแล้ว วิธีเดียวที่จะเอาออกมาได้ คือ ต้องตัดหัวออกแล้วใช้ไม้เสียบเข้าไปในรูจมูกให้ทะลุถึงคอ เพื่อปลดล็อกกราม
เต่าอัลลิเกเตอร์ เป็นเต่าที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยวิธีการซุ่มนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวใต้น้ำ แล้วอ้าปากใช้ลิ้นที่ส่วนปลายแตกเป็น 2แฉกที่ส่วนปลายสุดของกรามล่าง เพื่อตัวหลอกปลาให้เข้าใจว่าเป็นหนอน เมื่อปลาเข้าใกล้ได้จังหวะงับ ก็จะงับด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วเต่าอัลลิเกเตอร์ยังกินเต่าด้วยกัน รวมถึงเต่าอัลลิเกเตอร์ด้วยกันเองเป็นอาหารด้วยจากการขบกัดที่รุนแรง 
เชื่อกันว่า เต่าอัลลิเกเตอร์มีอายุยืนได้ถึง 200 ปี แต่อายุโดยเฉลี่ยในที่เลี้ยง คือ 20-70 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 11-13 ปี โดยจะโตไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเลยไปแล้วอัตราการเจริญเติบโตก็จะช้าลง ตัวเมียวางไข่ขนาดเท่าลูกปิงปองได้มากถึง 52ฟอง แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 29-31ฟอง โดยขุดหลุมฝังไว้ในพื้นดิน ซึ่งไข่จำนวนหนึ่งอาจถูกสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น แรคคูน ขุดขโมยไปกินได้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เต่าในธรรมชาติต้องวางไข่ใกล้กับทางรถไฟมากขึ้น
เต่าอัลลิเกเตอร์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์ ขณะที่กฎหมายในบางที่เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ห้ามเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ในบางพื้นที่ เช่น รัฐลุยเซียนา มีการนำไปปรุงเป็นซุป ถือเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง โดยมีการจับส่งให้แก่ร้านอาหารตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30จนถึง ทศวรรษที่ 70-80 ทำให้ประชากรเต่าอัลลิเกเตอร์มีจำนวนที่ลดลง

เต่าคอมม่อนสแนปปิ้ง

ลักษณะสำคัญของเต่าในวงศ์นี้ คือ เป็นเต่าน้ำจืดขนาดใหญ่ มีส่วนหัวและขาที่ใหญ่จนไม่สามารถหดเข้าในกระดองได้ กระดองหลังแบนและกว้าง ส่วนกระท้องท้องเล็กมาก ก้านกระดูกไปเชื่อมต่อกับขอบกระดองหลังตรึงแน่น ด้านท้ายของกะโหลกเว้ามาก หางยาว จึงเป็นเต่าที่ว่ายน้ำไม่ได้ดีนัก จึงใช้การเคลื่อนไหวด้วยการเดินใต้น้ำแทน การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้
ซึ่งเต่าในวงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเต่าในวงศ์ Platysternidae หรือ เต่าปูลู ที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งในบางข้อมูลได้จัดรวมทั้ง 2วงศ์นี้ให้อยู่ด้วยกัน แต่เป็นวงศ์ย่อยของกันและกัน 
เต่าสแนปปิ้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล (ดูในตาราง)เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก ด้วยวิธีการฉกเหยื่อด้วยกรามที่ทรงพลังด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะได้ปรากฏขึ้นมาเป็นโลกเป็นเวลานานถึง 90 ล้านปีแล้ว และเหลือสมาชิกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่แค่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น 

เต่ามาตามาต้า


จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chelus โดยคำว่า "Mata mata" ที่เป็นชื่อสามัญนั้น มาจากภาษาสเปนแปลว่า"มันฆ่า มันฆ่า" จัดว่าเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่หากินและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา มีรูปร่างแปลกตา นับว่าเป็นนักพรางตัวเข้ากับได้ดีเยี่ยมชนิดหนึ่ง เพราะมีรูปร่างและสีสันกลมกลืนกับธรรมชาติมาก เต่ามาตามาต้ามีส่วนหัวที่แบนแผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ และผิวหนังขรุขระและมีติ่งเนื้อล้อมรอบทำหน้าที่รับความรู้สึกและตรวจสอบการกระเพื่อมของน้ำ กระดองกว้างและแบนราบมีสันขนาดใหญ่ 3สัน เรียงตามความยาวของกระดอง ที่เมื่ออยู่ในน้ำแล้วมองดูเหมือนก้อนหินหรือเปลือกไม้หรือใบไม้มากกว่า และมีจมูกที่มีความยาวคล้ายหลอด คอยาวเหมือนงูซึ่งทั้งหมดใช้สำหรับการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใต้พื้นน้ำ เพื่อรอดักซุ่มเหยื่อ ซึ่งได้แก่ ปลา โดยเต่ามาตามาต้าจะอยู่นิ่ง ๆ อ้าปากรอปลาที่ผ่านเข้ามาในระยะของปาก จะกินปลาด้วยการดูดเข้าไป
เต่ามาตามาต้า สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 20 กิโลกรัม กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และอเมซอน มักอาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นกรดสูงซึ่งเกิดจากการทับถมของเศษซากพืชต่าง ๆ จนน้ำมีสีคล้ายสีน้ำตาลหรือสีชา มีสารแทนนินสูง มีพฤติกรรมเชื่องช้าเป็น อาศัยอยู่โดดเดียว โดยหากินและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดเวลา ยกเว้นเมื่อตัวเมียขึ้นมาวางไข่บนบกเท่านั้น นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

เต่าคองู

มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนคอที่ยาวมากเหมือนงู หัวมีขนาดเล็ก ตากลมโต ขนาดโตเต็มที่กระดองยาว 30 เซนติเมตร อาศัยในน้ำตื้น ๆ หรือชายน้ำ จะไม่อยู่ห่างน้ำไปไกลเพราะคอที่ยาวจะทำให้การเคลื่อนไหวบนบกทำได้ไม่คล่องตัว ชอบความสะอาด มักจะหมอบราบกับพื้นท้องน้ำ และฝังตัวอยู่ในโคลนที่อ่อนนุ่ม กินอาหารจำพวกปลาหรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ด้วยการดูดเข้าไปในปาก
พบกระจายพันธุ์บนเกาะปาปัวนิวกินีแถบทางใต้ของเกาะบริเวณช่องแคบทอเรส และตามหนองบึงทั่วไปของออสเตรเลีย เต่าคองูมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 17-50ปี สืบพันธุ์โดยวางไข่ในเดือนพฤษภาคมและตอนปลายของฤดูฝนฟักออกเป็นตัวในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมลูกเต่าที่ฟักออกใหม่ มีความยาว 3.7 เซนติเมตร บนกระดองหลังมีจุดด่างสีน้ำตาลดำเต่าคองู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์